1. จงหาความหมายของคำต่อไปนี้
1.1 กราฟฟิก
กราฟิก หมายถึง ศิลปะหรือศาสตร์แขนงหนึ่ง ที่สื่อความหมายโดยใช้เส้น ภาพเขียน สัญลักษณ์ ภาพถ่าย ซึ่งมีลักษณะเห็นได้ชัดเจน
เข้าใจความหมายได้ทันที และถูกต้องตรงตามที่ผู้ใช้ต้องการ
1.2 ภาพกราฟฟิกแบบบิตแมพ
ภาพกราฟิกแบบราสเตอร์ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า
บิตแมพ (Bitmap) เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการเรียงตัวของจุดสี่เหลี่ยมเล็ก
ๆ ที่เรียกว่า พิกเซล (Pixel)
มีการเก็บค่าสีที่เจาะจงในแต่ละตำแหน่งจนเกิดเป็นภาพในลักษณะต่าง ๆเช่น ภาพถ่าย
ข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการสร้างสีหรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงามน
ข้อเสีย คือ หากมีการขยายขนาดภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนจุดสีให้กับภาพ ส่งผลให้คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไปความละเอียดของภาพจะลดลงมองเห็นภาพเป็นแบบ จุดสีชัดเจนขึ้นไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมากตามไปด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบราสเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Paintbrush โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นต้น
ข้อดี คือ เหมาะสำหรับภาพที่ต้องการสร้างสีหรือกำหนดสีที่ต้องการความละเอียดและสวยงามน
ข้อเสีย คือ หากมีการขยายขนาดภาพซึ่งจะเป็นการเพิ่มจำนวนจุดสีให้กับภาพ ส่งผลให้คุณภาพของภาพนั้นสูญเสียไปความละเอียดของภาพจะลดลงมองเห็นภาพเป็นแบบ จุดสีชัดเจนขึ้นไฟล์ภาพจะมีขนาดใหญ่และใช้เนื้อที่ในการจัดเก็บมากตามไปด้วย โปรแกรมที่นิยมใช้ในการสร้างภาพแบบราสเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Paintbrush โปรแกรม Adobe Photoshop เป็นต้น
1.3 ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์
ภาพกราฟิกแบบเวคเตอร์ เป็นภาพกราฟิกที่เกิดจากการประมวลผลโดยอาศัยหลักการคำนวณทางคณิตศาสตร์
มีสีและตำแหน่งที่แน่นอน ภาพจะมีความเป็นอิสระต่อกัน
โดยแยกชิ้นส่วนของภาพทั้งหมดออกเป็นเส้นตรง เส้นโค้ง หรือรูปทรง เมื่อมีการขยายภาพความละเอียดของภาพ จะไม่ลดลง เช่น ภาพการ์ตูนเมื่อถูกขยายภาพออกมา
ภาพที่ได้ก็จะยังคงรายละเอียดและความชัดเจนไว้เหมือนเดิม
และขนาดของไฟล์ภาพจะมีขนาดเล็กกว่าภาพแบบราสเตอร์
โปรแกรมที่นิยมใช้สร้างภาพแบบเวคเตอร์ ได้แก่ โปรแกรม Illustrator โปรแกรม CorelDraw เป็นต้น
1.4 ระบบสีแบบ RGB
เป็นระบบสีที่ประกอบด้วยแม่สี 3 สีคือ แดง (Red), เขียว (Green) และสีน้ำเงิน (Blue) เมื่อนำมาผสมกันทำให้เกิดสีต่าง
ๆ บนจอคอมพิวเตอร์มากถึง 16.7 ล้านสี ซึ่งใกล้เคียงกับสีที่ตาเรามองเห็นปกติ สีที่ได้จากการผสมสีขึ้นอยู่กับความเข้มของสี
โดยถ้าสีมีความเข้มมาก เมื่อนำมาผสมกันจะทำให้เกิดเป็นสีขาว
จึงเรียกระบบสีนี้ว่าแบบ Additive หรือการผสมสีแบบบวก
1.5 ระบบสีแบบ CMYK
เป็นระบบสีที่ใช้กับเครื่องพิมพ์ที่พิมพ์ออกทางกระดาษหรือวัสดุผิวเรียบอื่น
ๆ ซึ่งประกอบด้วยสีหลัก 4 สีคือ สีฟ้า (Cyan), สีม่วงแดง (Magenta), สีเหลือง (Yellow) และสีดำ (Black) เมื่อนำมาผสมกันจะกเกิดสีเป็นสีดำแต่จะไม่ดำสนิทเนื่องจากหมึกพิมพ์มีความไม่บริสุทธิ์ จึงเป็นการผสมสีแบบลบ (Subtractive) หลักการเกิดสีของระบบนี้คือ
หมึกสีหนึ่งจะดูดกลืนแสงจากสีหนึ่งแล้วสะท้อนกลับออกมาเป็นสีต่าง ๆ เช่น
สีฟ้าดูดกลืนแสงของสีม่วงแล้วสะท้อนออกมาเป็นสีน้ำเงิน
ซึ่งจะสังเกตได้ว่าสีที่สะท้อนออกมาจะเป็นสีหลักของระบบ RGB การเกิดสีในระบบนี้จึงตรงข้ามกับการเกิดสีในระบบ RGB ดังภาพ
2. องค์ประกอบของงานกราฟฟิกมีกี่ชนิดอะไรบ้าง
องค์ประกอบหลัก ๆ
ในงานกราฟิกจะแบ่งออกเป็น 8 ชนิดคือ เส้น,
รูปร่าง, รูปทรง, น้ำหนัก,
พื้นผิว, ที่ว่าง, สี
และตัวอักษร
เส้น
(Line)
ลักษณะของเส้น (Line) แบบต่าง ๆ
ตามตารางมาตรฐานแล้วจะพูดถึงเรื่องนี้ว่าเป็นเรื่องของจุด
เส้น ระนาบ แต่ถ้าจะเอาให้เข้าใจง่าย ๆ ก็เพียงแต่เข้าใจว่าความหมายของเส้นก็คือ
การที่จุดหลาย ๆ จุด ถูกนำมาวางต่อเนื่องจนกลายเป็นเส้นรูปทรงต่าง ๆ ขึ้นมา
รูปทรงของเส้นที่จะสื่อออกมาถึงความรู้สึกที่แตกต่างกันออกไป
เส้นแนวนอน ให้ความรู้สึกสงบ ราบเรียบ
เส้นตรงแนวตั้ง ให้ความรู้สึกมั่นคงแข็งแรง
เส้นทแยง ให้ความรู้สึกไม่มั่นคง รวดเร็ว
แสดงถึงเคลื่อนไหว
เส้นตัดกัน ให้ความรู้สึกประสาน แข็งแกร่ง หนาแน่น
เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกอ่อนช้อย อ่อนน้อม
เส้นประ ให้ความรู้สึก โปร่ง ไม่สมบูรณ์
หรือในบางกรณีอาจจะใช้เป็นสัญลักษณ์ในการแสดงถึงส่วนที่ถูกซ่อนเอาไว้
เส้นโค้งก้นหอย ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวไม่มีที่สิ้นสุด
เส้นโค้งแบบคลื่น ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวอย่างนิ่มนวล
เส้นซิกแซ็ก ให้ความรู้สึก น่ากลัว อันตราย
ส่วนใหญ่แล้วเส้นจะมีอยู่ทุกๆ
งานออกแบบ โดยถูกนำไปใช้ร่วมกับองค์ประกอบต่างๆ จนสื่อถึงอารมณ์ของผลงานออกมาได้
ในแบบที่ต้องการ ดังนั้น
การเลือกใช้เส้นเข้ามาเป็นส่วนประกอบในงานของเราจึงถือว่าเป็นสิ่งที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก
รูปร่าง (Shape), รูปทรง (Form) ,น้ำหนัก (Value)
รูปร่าง (Shape), รูปทรง (Form) ,น้ำหนัก (Value)
รูปร่าง : เป็นองค์ประกอบต่อเนื่องมาจากเส้น
เกิดจากการนำเส้นแบบต่าง ๆ มาต่อกันจนได้รูปร่าง 2 มิติที่มีความกว้างและความยาว
(หรือความสูง) ในทางศิลปะจะแบ่งรูปร่างออกเป็น 2 แบบคือ
รูปร่างที่คุ้นตา แบบที่เห็นแล้วรู้เลยว่านั่นคืออะไร เช่นดอกไม้ หรือคน
และอีกแบบหนึ่งจะเป็นรูปร่างแบบฟรีฟอร์ม
เป็นแนวที่ใช้รูปร่างสื่อความหมายที่จินตนาการไว้ออกมา ไม่มีรูปทรงที่แน่นอน
แต่ดูแล้วเกิดจินตนาการถึงอารมณ์ที่ต้องการสื่อได้
รูปทรง : เป็นรูปร่างที่มิติเพิ่มขึ้นมากลายเป็นงาน
3 มิติคือ มีความลึกเพิ่มเข้ามาด้วย
น้ำหนัก : เป็นส่วนที่มาเสริมให้ดูออกว่ารูปทรงมีน้ำหนักขนาดไหนเบา
หรือหนัก ทึบ หรือโปร่งแสง น้ำหนักจะเกิดจากการเติมสีและแสงแรเงาลงไปในรูปทรงจนได้ผลลัพธ์ออกมาตามที่ต้องการ
ในการทำงานกราฟิกรูปร่างจะมีผลอย่างมากต่ออารมณ์ของงาน
เช่น ถ้าต้องการงานที่อารมณ์ผู้หญิงจัด ๆ
เพียงแค่ใส่รูปของดอกไม้ลงไปก็จะสามารถแสดงอารมณ์ได้อย่างชัดเจน
หรือในงานที่ต้องการให้มีมิติมากขึ้นก็อาจจะเป็นรูปทรงของดอกไม้ในมุมมองที่แปลกตา
ก็จะสามารถสื่ออารมณ์ที่ต้องการออกไปได้พร้อมกับเป็นการสร้างความน่าสนใจเพิ่มขึ้นมาอีกด้วย
พื้นผิว (Texture)
พื้นผิว (Texture)
ในงานออกแบบกราฟิก
พื้นผิวจะเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยสื่ออารมณ์ของงานออกมาได้ชัดเจนมากขึ้น
เช่น ถ้าเราเลือกพิมพ์งานลงในกระดาษ Glossy ที่เงาและแวววาว งานนั้นจะสื่อกอกไปได้ทันทีว่า “หรู
มีระดับ” หรือ ถ้าเราใส่ลวดลายที่ดูคล้าย ๆ สนิม
หรือรอยเปื้อนลงไปในงานก็จะสื่อได้ทันทีถึง “ความเก่า”
ดังนั้นในการทำงาน
นักออกแบบจึงควรเลือกสร้างพื้นผิวทั้งในองค์ประกอบต่าง ๆ ที่ใส่ลงไปในภาพ
รวมทั้งวัสดุที่ใช้พิมพ์งานดังกล่าวลงไป
ก็จะสามารถช่วยสื่อความหมายที่ต้องการได้อย่างเหมาะสม
ที่ว่าง
(Space)
ที่ว่าง (Space)
อาจจะจะเกิดจากความตั้งใจหรือไม่ตั้งใจของนักออกแบบก็ได้
ที่ว่างไม่ได้หมายความถึงพื้นที่ว่างเปล่าในงานเพียงอย่างเดียว
แต่หมายถึงรวมไปถึงพื้นที่ที่ไม่สำคัญหรือ Background ด้วย ในการออกแบบงานกราฟิกที่ว่างจะเป็นตัวช่วยในงานดูไม่หนักจนเกินไป
และถ้าควบคุมพื้นที่ว่างนี้ให้ดี ๆ
ที่ว่างก็จะเป็นตัวที่ช่วยเสริมจุดเด่นให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
สี (Color)
สี (Color)
สีของงานกราฟิก
ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญเลยก็ว่าได้
เพราะการเลือกใช้สีจะแสดงถึงอารมณ์ที่ต้องการได้ชัดเจนมากกว่าส่วนประกอบอื่น ๆ
ทั้งหมด เช่น สีโทนร้อน สำหรับงานที่ต้องการความตื่นเต้น ท้าทาย
หรือสีโทนเย็นสำหรับงานต้องการให้ดูสุภาพ สบาย ๆ
สำหรับเรื่องสีเป็นเรื่องที่ต้องพูดถึงละเอียดมากกง่าหัวข้ออื่น ๆ
ดังนั้นจึงขอยกไปอธิบายไว้เป็นเรื่องใหญ่ ๆ ในหัวข้อต่อไป
ตัวอักษร
(Type)
ตัวอักษร (Type)
ตัวอักษรเป็นสิ่งสำคัญไม่เป็นรองใคร
เมื่อต้องทำงานกราฟิกดีไซน์ ในเรื่องงานกราฟิกที่ดีบางงาน
นักออกแบบอาจจะใช้เพียงแค่ตัวอักษรและสีเป็นส่วนประกอบเพียงสองอย่าง
เพื่อสร้างสรรค์งานที่สามารถสื่อความหมายออกมาได้ในดีไซน์ที่สวยงาม ดังนั้น
เรื่องนี้จะต้องยกไปอธิบายให้ละเอียดมากขึ้นในหัวข้อใหญ่ ๆ ต่อไปจากเรื่องสี
3. อธิบายถึงการจัดองค์ประกอบศิลป์
องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง การนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของทัศนธาตุต่าง ๆ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สัดส่วน แสงเงา สี ช่องว่าง และลักษณะผิว มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน การเรียนรู้องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนงเพื่อให้เกิดความงามหรือสื่อความหมายทางศิลปะได้ โดยยึดหลักการจัดดังนี้
1. เอกภาพ (Unity)
2. ความสมดุล (Balance)
3. จังหวะ จุดเด่น (Dominance)
4. ความกลมกลืน (Harmony)
5. ความขัดแย้ง (Contrast)
6. ขนาด สัดส่วน (Size Proporty)
1. เอกภาพ (Unity)
เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสอดคล้องกลมกลืน เป็นหน่วยเดียวกัน ด้วยการจัดองค์ประกอบให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย โดยการจัดระเบียบของรูปทรง จังหวะ เนื้อหาให้เกิดดุลยภาพจะได้สื่ออารมณ์ ความรู้สึก ความหมายได้ง่ายและรวดเร็ว
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
องค์ประกอบศิลป์ หมายถึง การนำส่วนประกอบต่าง ๆ ของทัศนธาตุต่าง ๆ เช่น จุด เส้น รูปร่าง รูปทรง ขนาด สัดส่วน แสงเงา สี ช่องว่าง และลักษณะผิว มาสร้างสรรค์เป็นผลงาน การเรียนรู้องค์ประกอบศิลป์จึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานศิลปะทุกแขนงเพื่อให้เกิดความงามหรือสื่อความหมายทางศิลปะได้ โดยยึดหลักการจัดดังนี้
1. เอกภาพ (Unity)
2. ความสมดุล (Balance)
3. จังหวะ จุดเด่น (Dominance)
4. ความกลมกลืน (Harmony)
5. ความขัดแย้ง (Contrast)
6. ขนาด สัดส่วน (Size Proporty)
1. เอกภาพ (Unity)
เอกภาพ หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ความสอดคล้องกลมกลืน เป็นหน่วยเดียวกัน ด้วยการจัดองค์ประกอบให้มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันเป็นกลุ่มก้อนไม่กระจัดกระจาย โดยการจัดระเบียบของรูปทรง จังหวะ เนื้อหาให้เกิดดุลยภาพจะได้สื่ออารมณ์ ความรู้สึก ความหมายได้ง่ายและรวดเร็ว
ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
การเชื่อมโยงเป็นหน่วยเดียวกัน
ภาพฝั่งซ้ายเส้นเป็นลักษณะโค้ง เช่น
กะละมังที่ผู้หญิงนั่ง และตัวผู้ผญิงคนนี้ก้มลงเส้นขอบของลำตัวเป็นเส้นโค้ง
เข้ากับกะละมังแต่ฝั่งขวามือเป็นโต๊ะมีลักษณะสี่เหลี่ยม
ตัดกันกันกับวงกลมวิธีการคือการเชื่อมโยงรูปทรงของเรื่องราวให้เข้ากันด้วยการต่อเส้นโดยการเอาแปรงมาวางต่อระหว่างวงกลมกับโต๊ะให้เป็นเรื่องราวเดียวกัน
เอกภาพทางแนวคิดเรื่องรูปแบบ และเนื้อหา
ในภาพเป็นแนวคิดเรื่องเดียวกัน
คื่อเรื่องความศรัทธา เนื้อหาของภาพเรื่องเดียวกันคือเจดีย์
เอกภาพทางเส้น การประสานกันของเส้น รูปทรงและพื้นผิว
ในภาพนี้มีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเรื่องเส้น
ทิศทางของเส้น รูปทรงของเส้น พื้นผิวเหมือนกัน ผิวเรียบ และวัสดุชนิดเดียวกัน
2. ความสมดุล (Balance)
ความสมดุลหรือดุลยภาพ หมายถึง ความเท่ากันเสมอกัน มีน้ำหนัก หรือความกลมกลืนพอเหมาะพอดี โดยมีแกนสมมติทำหน้าที่แบ่งภาพให้ซ้ายขวา บน ล่าง ให้เท่ากัน การเท่ากันอาจไม่เท่ากันจริง ๆ ก็ได้ แต่จะเท่ากันในความรู้สึกตามที่ตามองเห็น
ความสมดุลแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
ความสมดุลหรือดุลยภาพ หมายถึง ความเท่ากันเสมอกัน มีน้ำหนัก หรือความกลมกลืนพอเหมาะพอดี โดยมีแกนสมมติทำหน้าที่แบ่งภาพให้ซ้ายขวา บน ล่าง ให้เท่ากัน การเท่ากันอาจไม่เท่ากันจริง ๆ ก็ได้ แต่จะเท่ากันในความรู้สึกตามที่ตามองเห็น
ความสมดุลแบ่งเป็น 2 ประเภท ดังนี้
2.1. ความสมดุล 2 ข้างเท่ากัน (Symmetrical
Balance) หมายถึง การจัดวางองค์ประกอบต่าง ๆ ของศิลปะให้ทั้ง 2 ข้างแกนสมมติมีขนาด
สัดส่วน และน้ำหนักเท่ากัน หรือมีรูปแบบเหมือนกันคล้ายกัน เช่น
การวาดภาพที่ซ้ายขวา
เหมือนกันมาก
เหมือนกันมาก
ความสมดุล 2 ข้างเท่ากัน
ในเรื่องรูปร่าง และรูปทรง
ความสมดุล 2 ข้างเท่ากัน
ในส่วนของขนาดและปริมาณ
2.2. ความสมดุล 2 ข้างไม่เท่ากัน (Asymmetrical
Balance) หมายถึง การจัดองค์ประกอบของศิลปะ ทั้ง 2 ข้างแกนสมมติมีขนาดสัดส่วนน้ำหนักไม่เท่ากัน
ไม่เหมือนกัน ไม่เสมอกัน แต่สมดุลกันในความรู้สึก
ความสมดุล 2 ข้างไม่เท่ากัน
คือภาพมีความสมดุลย์ของเนื้อหาและเรื่องราวแต่ไม่เท่ากันในเรื่องขนาด น้ำหนัก
3. จังหวะ จุดเด่น (Dominance)
1.จุดเด่น หรือจุดสนใจ หมายถึง ส่วนสำคัญที่ปรากฏชัด สะดุดตาที่สุดในงานศิลปะ จุดเด่นจะช่วยสร้าง
ความน่าสนใจในผลงานให้ภาพเขียนมีความสวยงาม มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น จุดเด่นเกิดจากการจัดวางที่
เหมาะสม และรู้จักการเน้นภาพ (Emphasis) ที่ดี จุดเด่น มี 2 แบบ คือ
1.จุดเด่นหลัก เป็นภาพที่มีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องที่จะเขียน แสดงออกถึงเรื่องราวที่ชัดเจน เด่นชัดที่สุดในภาพ
1.จุดเด่น หรือจุดสนใจ หมายถึง ส่วนสำคัญที่ปรากฏชัด สะดุดตาที่สุดในงานศิลปะ จุดเด่นจะช่วยสร้าง
ความน่าสนใจในผลงานให้ภาพเขียนมีความสวยงาม มีชีวิตชีวายิ่งขึ้น จุดเด่นเกิดจากการจัดวางที่
เหมาะสม และรู้จักการเน้นภาพ (Emphasis) ที่ดี จุดเด่น มี 2 แบบ คือ
1.จุดเด่นหลัก เป็นภาพที่มีความสำคัญมากที่สุดในเรื่องที่จะเขียน แสดงออกถึงเรื่องราวที่ชัดเจน เด่นชัดที่สุดในภาพ
2.จุดเด่นรอง เป็นภาพประกอบของจุดเด่นหลัก ทำหน้าที่สนับสนุนจุดเด่นหลัก ให้ภาพมีความสวยงามยิ่งขึ้น เช่น ในภาพจุดเด่นรองได้แก่ รูปเรือ
4. ความกลมกลืน (Harmony)
ภาพด้านล่างเป็นความกลมกลืนด้านเรื่องราวที่สอดคล้องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาต และเป็นความกลมกลืนในเรื่องสีวรรณะเดียวกัน
ภาพด้านล่างเป็นความกลมกลืนด้านเรื่องราวที่สอดคล้องเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับธรรมชาต และเป็นความกลมกลืนในเรื่องสีวรรณะเดียวกัน
5. ความขัดแย้ง (Contrast)
ขัดแย้งด้วยรูปทรง ขัดแย้งด้วยขนาด ขัดแย้งด้วยเส้น ขัดแย้งด้วยผิว ขัดแย้งด้วยสี
ความขัดแย้งที่กล่าวมาถูกจัดวางเพื่อให้เกิดความงามทางศิลปะ
ความขัดแย้งที่กล่าวมาถูกจัดวางเพื่อให้เกิดความงามทางศิลปะ
6. ขนาด สัดส่วน (Size Proporty)
ในการวาดภาพขนาดและสัดส่วนมีความสำคัญมาก ทุกส่วนของภาพวาดจะต้องมีความสอดคล้องกันของขนาดและสัดส่วน จะผิดเพี้ยนไม่ได้
ในการวาดภาพขนาดและสัดส่วนมีความสำคัญมาก ทุกส่วนของภาพวาดจะต้องมีความสอดคล้องกันของขนาดและสัดส่วน จะผิดเพี้ยนไม่ได้
4. อธิบายความแตกต่างของภาพกราฟฟิก
แบบบิตแมทกับเวกเตอร์
ความแตกต่างของกราฟิกแบบ
2 มิติ ภาพกราฟิก 2 มิติแบบ Raster และ แบบ Vector มีความแตกต่างกันดังนี้
ภาพกราฟิกแบบ Raster
|
ภาพกราฟิกแบบ Vector
|
1. ภาพกราฟิกเกิดจากจุดสี่เหลี่ยมเล็ก
ๆ หลากหลายสี (Pixels) มาเรียงต่อกันจนกลายเป็นรูปภาพ
|
1. ภาพเกิดจากการอ้างอิงความสัมพันธ์ทางคณิตศาสตร์หรือการคำนวณ
โดยองค์ประกอบของภาพมีอิสระต่อกัน
|
2. การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น
จะทำให้ความละเอียดของภาพลดลง ทำให้มองเห็นภาพเป็นจุดสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ
|
2. การขยายภาพกราฟิกให้มีขนาดใหญ่ขึ้น ภาพยังคงความละเอียดคมชัดเหมือนเดิม
|
3. การตกแต่งและแก้ไขภาพ สามารถทำได้ง่ายและสวยงาม เช่น การ Retouching ภาพคนแก่ให้หนุ่มขึ้น
การปรับสีผิวกายให้ขาวเนียนขึ้น เป็นต้น
|
3. เหมาะกับงานออกแบบต่าง ๆ เช่น งานสถาปัตย์
ออกแบบโลโก เป็นต้น
|
4. การประมวลผลภาพสามารถทำได้รวดเร็ว
|
4. การประมวลผลภาพจะใช้เวลานาน เนื่องจากใช้คำสั่งในการทำงานมาก
|
5. ยกตัวอย่างการใช้คอมพิวเตอร์กราฟฟิกกับงานด้านต่างๆ
1.คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการออกแบบ คอมพิวเตอร์ได้เข้ามามีบทบาทกับงานด้านการออกแบบในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก เช่น
งานด้านสถาปัตย์ออกแบบภายในบ้าน การออกแบบรถยนต์ การออกแบบเครื่องจักรกล รวมถึงการออกแบบวงจรไฟฟ้าอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งโปรแกรมที่ใช้จะเป็นโปรแกรม 3 มิติ เพราะสามารถกำหนดสีและแสงเงาได้เหมือนจริงที่สุด
อีกทั้งสามารถดูมุมมองด้านต่าง ๆ ได้ทุกมุมมอง
2.คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านโฆษณา ปัจจุบันการโฆษณาสินค้าทางโทรทัศน์ได้นำภาพกราฟิกเข้ามาช่วยในการโฆษณาสินค้าเพื่อเพิ่มความน่าสนใจมากขึ้น เช่น การทำหิมะตกที่กรุงเทพฯ การนำการ์ตูนมาประกอบการโฆษณาขนมเด็ก เป็นต้น และการโฆษณาสินค้าด้วยภาพกราฟิกยังมีอยู่ทุกที่รอบตัวเราไม่ว่าจะเป็นตามป้ายรถเมล์ ข้างรถโดยสาร หน้าร้านค้าตามแหล่งชุมชนต่าง
ๆ เป็นต้น
3. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านการนำเสนอ การนำเสนอข้อมูลต่าง ๆ
เป็นการสื่อความหมายให้ผู้รับสารเข้าใจในสิ่งที่ผู้สื่อต้องการ
และการสื่อสารที่ดีจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ภาพเข้ามาช่วยเพื่อเพิ่มความเข้าใจให้กับผู้รับสาร
เช่น การสรุปยอดขายสินค้าในแต่ละปีด้วยกราฟ
หรือการอธิบายระบบการทำงานของบริษัทด้วยแผนภูมิ เป็นต้น
4. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้านเว็บเพจ
ธุรกิจรับสร้างเว็บเพจให้กับบริษัทหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้นำคอมพิวเตอร์กราฟิกเข้ามาช่วยในการสร้างเว็บเพจเพื่อให้เว็บเพจที่สร้างมีความสวยงามน่าใช้งานยิ่งขึ้น
5. คอมพิวเตอร์กราฟิกกับงานด้าน Image Retouching ปัจจุบันธุรกิจคอมพิวเตอร์กราฟิกที่ใช้ในการ Retouching ภาพ ได้เปิดตัวขึ้นเป็นจำนวนมาก เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของคนในการทำภาพตามจินตนาการได้เป็นอย่างดี เช่น การทำภาพผิวกายให้ขาวเนียนเหมือนดารา การทำภาพเก่าให้เป็นภาพใหม่ การทำภาพขาวดำเป็นภาพสี และการทำภาพคนแก่ให้ดูหนุ่มหรือสาวขึ้น
เป็นต้น
ที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น